ประชุมหารือแนวทางการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในการพัฒนา Wellness Hub ของประเทศไทย ครั้งที่ 1/2564

5 พฤศจิกายน 2564


          คุณชวนัสถ์ สินธุเขียว ประธานสมาพันธ์สมาคมสปาแอนด์เวลเนสไทย ได้ร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในการพัฒนา Wellness Hub ของประเทศไทย ครั้งที่ 1/2564 วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.30-17.00 น.ห้องประชุมชั้น 6 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และผ่านระบบออนไลน์ zoom meeting  มีผู้เข้าร่วมประชุมในห้องประชุม 12 คน ประชุมผ่าน zoom meeting จำนวน 18 คน  ประกอบด้วย นางเสาวภา จิงกิตติพงศ์ ผู้อำนวยการกองสุขภาพระหว่างประเทศ เป็นประธานการประชุม รศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล ประธานกฎบัตรสุขภาพ รศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดี วิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นางสาวศรีทิพย์ อุชชิน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  ผศ.ดร.ดร.มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รศ.ดร.ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายกรด โรจนเสถียร นายกสมาคมการส่งเสริมสุขภาพไทย นายก้าน ประชุมพรรณ์ เลขาธิการสมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย นายปิติ อนนตพันธ์ นายกสมาคมวิชาชีพการบริหารทรัพยากรอาคารแห่งประเทศไทย ดร.นพัฐกานต์ เกิดแสง เลขาธิการสมาคมการส่งเสริมสุขภาพไทย นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทยและเลขานุการกฎบัตรไทย นายธรรมรงค์ ราชามุสิกะ อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย  นายชัยรัตน์ รัตโนภาส นายกสมาคมสปาและเวลเนสภาคตะวันออก นางสาวชวนัสถ์ สินธุเขียว ประธานสมาพันธ์สปาแอนด์เวลเนสประเทศไทย นายภูวนารท ยกฉวี กรรมการผู้จัดการ B-Helathy Asia กรรมการกฎบัตรสุขภาพ นายอภิชาติ โมฬีชาติ ประธานเครือโรงแรมเอสเทลล่า กรรมการกฎบัตรสุขภาพ และนายนิติธร เทพบุตร อุปนายกสมาคมโรงแรมที่พักส่งเสริมสุขภาพอันดามันและอ่าวไทย

          สรุปสาระสำคัญจากการประชุม ดังนี้ 
          1.  ผู้แทน 5 หน่วยงานที่ลงนาม MOU สรุปความคืบหน้าการปฏิบัติงาน ประเด็นสำคัญ  ประกอบด้วย การเตรียมการจัดตั้งคณะทำงานยกร่างมาตรฐานการส่งเสริมสุขภาพ ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเพิ่มเติม การพัฒนาพื้นที่กะรนเวลเนสแซนด์บ๊อกซ์ การเตรียมการพัฒนาทดสอบการนำผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อการแพทย์และการนันทนาการในพื้นที่ภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์ การจัดทำหลักสูตรพัฒนาเวลเนสระยะสั้นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ดำเนินการแล้วเสร็จ) การเพิ่มธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) เป็นพันธมิตรสนับสนุนสินเชื่อสำหรับกิจการเวลเนสแบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน การพัฒนาพื้นที่เมืองกะรนรองรับโครงการ special wellness (สสปน.+สบส.) ของเทศบาลตำบลกะรนกับผู้ประกอบการภาคเอกชน ความพร้อมการเปิดหลักสูตรการจัดการโรงแรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้บริหาร (165 ชม.) พื้นที่ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร 

          2. ข้อเสนอการดำเนินการของหน่วยงานและองค์กรที่ลงนาม MOU ตามแผนระยะ 6 เดือน
                    2.1 การเร่งรัดเสนอวาระพิเศษ การพัฒนาสปาน้ำพุร้อนให้เป็นวาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ที่จะประชุมสัญจรจังหวัดกระบี่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2564 (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับเครือข่ายประสานงาน)
                    2.2 การลงนาม MOU รอบที่สองสนับสนุนนโยบายการพัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางเวลเนสของโลก โดยมติเบื้องต้นให้เชิญ การท่องเที่ยงแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานนโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาตื (สอวช.) หน่วยบริหารการจัดการทุนวิจัยการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สมาคมวิชาชีพการบริหารทรัพยากรอาคารแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยบูรพา (คณะสหเวชศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะสาธารณสุขศาสตร์และสถาบันโภชนาการ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (คณะสาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (คณะเภสัชศาสตร์) มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำหรับพันธมิตรอื่นๆ ให้เครือข่ายองค์กรร่วมเสนอในการประชุมครั้งต่อไป โดยกฎบัตรไทย สมาคมการผังเมืองไทยรับผิดชอบในการประสานงาน)  ทั้งนี้ คาดว่าจะลงนาม MOU รอบที่สองช่วงกลางเดือนธันวาคม 2564 เพื่อให้ทันการนำเสนอต่อคณะกรรมการ medical hub ในเดือนมกราคม 2565 
                    2.3 เร่งรัดการเปิดหลักสูตรการจัดการโรงแรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้บริหารในพื้นที่ที่รัฐบาลประกาศเปิดประเทศท้งระยะหนึ่งและระยะสอง ซึ่งกฎบัตรไทยในฐานะผู้รับผิดชอบจะจัดประชุมร่วมเครือข่ายมหาวิทยาลัยในสัปดาห์กลางเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ ในส่วนงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เสนอดำเนินการ 3 แนวทาง ประกอบด้วย การจัดประชุมหน่วยงานแหล่งเงินทุนวิจัย การจัดหางบกลาง และการตั้งงบประมาณปกติในส่วนของกรมเอง  (ปี 2566)  
                    2.4 กาานำหลักสูตร 165 ชั่วโมงเทียบเคียงกับกฎหมายทุกฉบับที่มีอยู่และเทียบเคียงกับหลักสูตรมาตรฐานของต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นฐานในการขอการรับรองร่วมกันในอนาคตและการปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการให้ม่สมรรถนะสูงสุดและได้รับการยอมรับของนานาชาติ
                    2.5 การวิจัยเพื่อทราบสมรรถนะและการวางแผนกำลังคนในระบบเศรษฐกิจเวลเนสระดับประเทศ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย รศ.ดร.ภาณุพงศ์ ทำหน้าที่ประสานรายละเอียด)
                    2.6 การพุ่งเป้าไปยังการลงทุนขนาดใหญ่ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เบื้องต้น ได้รับทราบการลงทุนโครงการเวลเนสของบริษัท เดอะบีชพลาซ่า จำกัดและบริษัท เอเอ็มอาร์เอเซีย จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่เทศบาลตำบลกะรน
                    2.7 การพัฒนาระบบสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสุตรร่วมของกรม กฎบัตรและองค์กรภาคีเครือข่าย อาทิ สิทธิประโยชน์ด้านภาษี สิทธิประโยชน์ที่เป็นตัวเงินให้กับบุคลากร และสิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยมีแผนในการหารือรายละเอียดกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                    2.8 การจัดทำฐานข้อมูลผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของผู้ประกอบการ หรือสถานประกอบการเวลเนสที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดการโรงแรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้บรืหาร อาทิ การติดตามผลการนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติ  การลงทุนเพิ่มเติม การลงทุนปรับปรุงฟื้นฟูกิจการ การสร้างระบบเศรษฐกิจเวลเนสในลักษณะห่วงโซ่ หรือการยกระดับสมรรถนะหรือมาตรฐานโดยรวม

กำหนดการประชุมคร้งต่อไป วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.30-16.00 น.